วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

E - book

                                                                                          นางสาวพัชรินทร์ ไพโรจน์ 58561802093
                                                                                          นางสาวภัทรส  ปิ่นสุวรรณ  58561802102                   
                                                                                           คณะครุศาสตร์มหาบัณฑิต                                                                                                                        สาขาบริหารการศึกษา 
                                                                                           มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 



หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)




วามหมายของนวัตกรรมการศึกษา
          “นวัตกรรมการศึกษา (Education Innovation)” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่าแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เหล่านี้เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา .htm)
วามหมายของ E-book
          Electronic Book (E-Book) หรือ"หนังสืออิเล็กทรอนิกส์" ซึ่งจัดทําขึ้นด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ และ สามารถอ่านได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์เหมือนเปิดอ่านจากหนังสือ โดยตรงที่เป็นกระดาษ แต่ไม่มีการเข้าเล่มเหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความสามารถมากมายคือ มีการเชื่อมโยง (Link) กับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆได้ เพราะอยู่บนเครือข่าย www และมีบราวเซอร์ที่ทำหน้าที่ดึงข้อมูลมาแสดงให้ ตามที่เราต้องการเหมือนการเล่นอินเตอร์เน็ตทั่วไปเพียงแต่เป็นระบบหนังสือบนเครือข่ายเท่านั้น หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวได้ เราสามารถอ่านหนังสือ ค้นหาข้อมูล และสอบถามข้อมูลต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศทั่วโลกได้จากอินเตอร์เน็ต จากคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เป็นแฟ้มข้อมูล ประเภทข้อความ (Text File) ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักของภาษา HTML (Hyper Text Mask Language) ที่ใช้เขียนโปรแกรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันมี 2 ประเภท  คือ ซอฟต์แวร์สำหรับการเขียนข้อมูลให้ออกมาเป็น E-Book และ ซอฟต์แวร์สำหรับการอ่าน
วิวัฒนาการของ E - Book
           ความคิดเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีมาภายหลังปี ค.ศ. 1940 ซึ่งปรากฏในนิยาย วิทยาศาสตร์เรื่อง หนึ่ง เป็นหลักการใหม่ของคอมพิวเตอร์ตามแบบแผน IBM มีผลิตภัณฑ์คือ Book Master เนื้อหาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในปี 1980 และก่อน 1990 ในช่วงแรกมี 2 ส่วน คือ เรื่องเกี่ยวกับคู่มืออ้างอิงและการศึกษาบันเทิง งานที่เกี่ยวกับการอ้างอิง มักจะเกี่ยวกับเรื่องการผลิตและการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการพร้อมๆ กันกับการผลิตที่ ซับซ้อน เช่น Silicon Graphics ด้วยข้อจํากัดทางเทคโนโลยีที่ห่างไกลความจริง เช่น มีปัญหาของจอภาพซึ่งมี ขนาดเล็กอ่านยาก แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้น ไม่มีการป้องกันข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ ต่อมาเทคโนโลยีแล็บท็อปคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีส่วนช่วยให้ E-Book มีการรุดหน้าเร็วขึ้นจนสามารถ บรรลุผลในการเป็นหนังสือที่สมบูรณ์แบบ เพราะได้นําบางส่วนของแล็บท็อปมาประยุกต์ใช้จนทำ ให้ E-Book มี คุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีได้ นอกจากนี้ Internet ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย ไม่ต้องมีอุปกรณ์ที่จะใช้เก็บข้อมูล สามารถส่งข้อมูลได้คราวละมากๆ มีการป้องกันข้อมูล (Encryption) ใน การพัฒนา E-Book จะมุ่งไปที่ความบางเบาและสามารถพิมพ์ทุกอย่างได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ให้เหมือนกระดาษ จริงมากที่สุด
ข้อดีและข้อจำกัดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
         ข้อดีของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีข้อดีดังต่อไปนี้
          1. เป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่างๆ มารวมอยู่ในสื่อตัวเดียว คือสามารถแสดงภาพ แสง เสียง ภาพเคลื่อนไหว และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
          2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชาได้เร็วขึ้น
          3. ครูสามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการชักจูงผู้เรียนในการอ่าน, การเขียน, การฟังและ การพูดได้
          4. มีความสามารถในการออนไลน์ผ่านเครือข่ายและเชื่อมโยง ไปสู่โฮมเพจและเว็บไซต์ ต่างๆ อีกทั้งยังสามารถอ้างอิงในเชิงวิชาการได้
          5. หากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต จะทำให้การกระจายสื่อทำได้อย่างรวดเร็วและกว้างขว้างกว่าสื่อที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์
            6. สนับสนุนการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน ห้องสมุดเสมือนและห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
          7. มีลักษณะไม่ตายตัว สามารถแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถ เชื่อมโยงไปสู่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้โดยใช้ความสามารถของไฮเปอร์เท็กซ์
          8. ในการสอนหรืออบรมนอกสถานที่ การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้เกิดความ คล่องตัวยิ่งขึ้น เนื่องจากสื่อสามารถสร้างเก็บไว้ในแผ่นซีดีได้ ไม่ต้องหอบหิ้วสื่อซึ่งมีจำนวนมาก
         9. การพิมพ์ทำได้รวดเร็วกว่าแบบใช้กระดาษ สามารถทำสำเนาได้เท่าที่ต้องการประหยัด วัสดุในการสร้างสื่อ อีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
        10. มีความทนทานและสะดวกต่อการเก็บบำรุงรักษา ลดปัญหาการจัดเก็บเอกสารย้อนหลัง ซึ่งต้องใช้เนื้อที่หรือบริเวณกว้างกว่าในการจัดเก็บ สามารถรักษาหนังสือหายากและต้นฉบับเขียนไม่ให้เสื่อมคุณภาพ
           11. ช่วยให้นักวิชาการและนักเขียนสามารถเผยแพร่ผลงานเขียนได้อย่างรวดเร็ว
         ข้อจำกัดของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ถึงแม้ว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีข้อดีที่สนับสนุนด้านการเรียนการสอนมากมายแต่ก็ยังมี ข้อจำกัดด้วยดังต่อไปนี้
          1. คนไทยส่วนใหญ่ยังคงชินอยู่กับสื่อที่อยู่ในรูปกระดาษมากกว่า อีกทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่สมารถใช้งานได้ง่ายเมื่อเทียบกับสื่อสิ่งพิมพ์ และความสะดวกในการอ่านก็ยังน้อยกว่ามาก
          2. หากโปรแกรมสื่อมีขนาดไฟล์ใหญ่มากๆ จะทำให้การเปลี่ยนหน้าจอมีความล่าช้า
3. การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี ผู้สร้างต้องมีความรู้ และความ ชำนาญในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการสร้างสื่อดีพอสมควร
4.  ผู้ใช้สื่ออาจจะไม่ใช่ผู้สร้างสื่อฉะนั้นการปรับปรุงสื่อจึงทำได้ยากหากผู้สอนไม่มีความรู้ด้าน โปรแกรมคอมพิวเตอร์
          5. ใช้เวลาในการออกแบบมากเพราะต้องใช้ทักษะในการออกแบบเป็นอย่างดีเพื่อให้ได้สื่อที่ มีคุณภาพ
วามแตกต่างของ E-Book กับหนังสือทั่วไป
           ความแตกต่างของหนังสือทั้งสองประเภทจะอยู่ที่รูปแบบของการสร้าง การผลิตและการใช้งาน เช่น
                             1. หนังสือทั่วไปใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ
                             2. หนังสือทั่วไปมีข้อความและภาพประกอบธรรมดา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างให้ มีภาพเคลื่อนไหวได้
                             3. หนังสือทั่วไปไม่มีเสียงประกอบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถใส่เสียงประกอบได้
                             4. หนังสื่อทั่วไปแก้ไขปรับปรุงได้ยาก หนังสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถแก้ไขและปรับปรุงข้อมูล ได้ง่าย
                             5. หนังสือทั่วไปสมบูรณ์ในตัวเอง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถสร้างจุดเชื่อมโยง (links) ออกไปเชื่อมต่อกับข้อมูลภายนอกได้
                             6. หนังสือทั่วไปต้นทุนการผลิตสูง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้นทุนในการผลิตหนังสือต่ำ
                             7. หนังสือทั่วไปมีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีขีดจำกัดในการจัดพิมพ์ สามารถทำสำเนาได้ง่ายไม่จำกัด
                             8. หนังสือทั่วไปเปิดอ่านจากเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต้องอ่านผ่านคอมพิวเตอร์
                             9. หนังสือทั่วไปอ่านได้อย่างเดียว หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นอกจากอ่านได้แล้วยังสามารถสั่ง พิมพ์ (print)ได้
                             10. หนังสือทั่วไปอ่านได้ 1 คนต่อหนึ่งเล่ม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1 เล่ม สามารถอ่านพร้อม กันได้จำนวนมาก (ออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต)
                            11. หนังสือทั่วไปพกพาลำบาก (ต้องใช้พื้นที่) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์พกพาได้สะดวกครั้งละ จำนวนมากในรูปแบบของไฟล์คอมพิวเตอร์ ใน handy drive หรือ CD
ปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-Book มีอยู่หลายโปรแกรมแต่ที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบันได้แก่
                1. โปรแกรมชุด Flip Album
                2. โปรแกรม DeskTop Author
                3. โปรแกรม Flash Album Deluxe
     ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน e-Book ด้วย มิฉะนั้น แล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1.1      โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer
1.2      โปรแกรมชุด DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
1.3      โปรแกรมชุด Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player     
 ารสร้างหนังสือ E-book
            สำหรับโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างหนังสือ E-book ในปัจจุบันมีด้วยกันหลายโปรแกรมแล้วแต่ผู้ใช้จะเลือก    ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มีวิธีการสร้างแตกต่างกันไปตามประเภทของโปรแกรมที่เราเรียกใช้ แต่สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มหัดทำขอแนะนำ โปรแกรม Flip Publisher เนื่องจาก สามารถสร้างงานได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ก็สามารถสร้างได้ สามารถนำชิ้นงานที่มีอยู่แล้ว เช่น Microsoft word มาดัดแปลงเป็น e-book ได้โดยง่าย และชิ้นงานที่ได้ยังมีความสวยงามดึงดูดความสนใจผู้เรียนอีกด้วย ส่วนอีกโปรแกรมที่อยากแนะนำ คือ  โปรแกรม Desk top Author ซึ่งมีผู้ที่เคยใช้สร้าง E-book ด้วยโปรแกรมนี้บอกว่า   ในการใช้โปรแกรม Desktop Author สร้าง E-Book นั้น โปรแกรมนี้มีความสามารถเกือบจะสมบูรณ์ในการใช้ทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยการยอมรับเฉพาะภาษาไทยของโปรแกรม แม้จะใช้ฟร้อนท์ภาษาไทยได้น้อย ที่ดีสุดคือ MS-Sans Serif ก็ไม่มีปัญหา จุดที่ไม่ยอมรับภาษาไทยอีกจุดหนึ่งคือการรายงานผลการสอบ มีปัญหาแต่เราก็แก้ปัญหานี้ได้ ดังจะได้แนะนำต่อไป
             1. ใส่ข้อความ รูปภาพทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว รวมไปยัง Links ต่างๆ ได้ง่ายรวดเร็ว              
             2.   ไฟล์ที่ได้มีขนาดเล็ก สามารถส่งทาง E-mail หรือให้ download ได้ทางเว็บไซต์
             3.  การพิมพ์ตัวอักษรลงไป เราสามารถเลือกขนาด สีฟร้อนท์ ได้ในลักษณะเหมือนที่มองเห็น WYSIWYG
             4. ทำลิงค์เชื่อมโยงภายในเอกสาร ต่างเอกสาร หรือไปยังเว็บไซต์ได้
             5. สร้าง Form สำหรับทำแบบทดสอบได้
             6. มี Template และ Botton ให้เลือกใช้ และมีลักษณะเหมืนหนังสือจริง
             7. สามารถกำหนดคุณสมบัติแบบโปร่งใสได้
             8. Publish เป็นเอกสาร Web และดูผ่านเว็บเบราเซอร์ได้
             9. สามารถทำ Package เป็นเอกสารรูปแบบต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบ เช่น DNL, DRM, EXE และ SCR
             10. ป้องกันเอกสารได้ คือสามารถใส่ PASSWORD ป้องกันการพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ ป้องกันการ SAVE ได้
              11. เปิดดูได้โดยไม่ต้องอาศัยอินเทอร์เน็ต (Offline) และอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์คุณภาพต่ำเปิดดูได้
ารใช้ E - Book เพื่อการเรียนการสอน
            E-Book จัดว่าเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในรูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจจากนัก การศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา E-Book จะครอบคลุมหนังสือทั่วๆ ไปที่จัดทำแล้วสามารถอ่านได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการอ่านมีโปรแกรมในการอ่านโดย เฉพาะตำราอิเล็กทรอนิกส์จะเป็น    E - Book ประเภทหนึ่งที่จำเป็นต้องนำมาจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนในสังคมการเรียนรู้ในปัจจุบันทุกประเทศเห็นความสำคัญในการจัดทำ E - Book เพื่อประกอบการเรียนการสอนโดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นตัวช่วยดำเนินการและจัดการให้เกิดระบบการเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนในยุคแรกๆ ใช้ระบบสื่อสารที่มีอยู่ในขณะนั้น เช่น การจัดการเรียนการสอนทางวิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียม แต่ในปัจจุบันใช้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สำคัญในการดำเนินการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการจัดทำ E - Book อาจเป็นโปรแกรมที่พัฒนาเองหรือใช้ภาษา HTML ในการเขียนหรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูปอื่นๆ ช่วยเขียนขึ้นกลายเป็นโปรแกรมช่วยสอนในลักษณะต่างๆ โปรแกรมที่นิยมใช้ในการนำมาจัดการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาต่างๆในขณะนี้ได้แก่ โปรแกรม Blackboard, Syllas, Education Sphere, Advance Vision, Exam Cybernet, WebCT และMediaSTAQ เป็นต้น มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อนำมาจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอนมากมาย บางบริษัทดำเนินการให้บริการทั้งการติดตั้งที่สถานที่ศึกษาและให้บริการในระบบอินเตอร์เน็ต ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา มหาวิทยาลัยเปิดจะได้เปรียบในการใช้การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยไม่มีข้อจำกัดต่างๆ ในเรื่องของความไม่พร้อมของผู้เรียน ระยะทางของการมาเรียนหรือเวลาที่จะต้องเรียน
วามสัมพันธ์ของ E – Book ในยุคการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21
         จะเห็นว่าการพัฒนาผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21นั้น แตกต่างจากยุคที่ผ่านมา เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลงจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้การใช้ชีวิตของคนยุคศตวรรษที่ 21 แตกต่างจากคนรุ่นศตวรรษที่ 20 การเปลี่ยนแปลงนี้เน้นการเรียนรู้เนื้อหาสาระตามหลักสูตร และที่เกิดขึ้นใหม่ในศตวรรษที่ 21 ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะการคิดและการเรียนรู้ และความรู้ความสามารถทางไอซีที ทำให้การประเมินผลลัพธ์ต้องครอบคลุมหลายด้าน นอกเหนือจากด้านเนื้อหาสาระ
            ระบบการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 นี้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดการเรื่องการเรียนรู้ของตนเอง โดยใช้ระบบเครือข่าย การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นหลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนจะถูกจัดแยกเป็นประเภท ผู้เรียนมีโอกาสเลือกเรียนหลักสูตรที่หลากหลายมากขึ้น ในส่วนของตัวครูผู้สอนนั้นครูจะมีบทบาทในฐานะเป็นตัวแทนของการเรียนรู้ (learning agent) ต้องมีแผนการเรียนรู้เป็นรายบุคคล (personal learning plan) และจัดทำระบบการประเมินจะหลากหลายมากขึ้น ไม่ได้วัดเฉพาะความรู้ในแบบทดสอบเท่านั้น ฉะนั้นการเรียนรู้ในยุคนี้เทคโนโลยีมีบทบาทมาก E-Book จึงเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีโอกาสได้ทบทวนความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น โดยที่ตัวครูผู้สอนนั้นจะมีคุณลักษณะเป็นผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (learning coach) และ เป็นตัวแทนในการนำผู้เรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้ (learning travel agent) หนังสือ E-Book มีการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ เพื่อเร้าความสนใจให้กับผู้เรียน ประกอบกับเพื่อให้เข้ากับยุคของการเรียนรู้ในยุคนี้เรามักจะพบ E – Book ในรูปลักษณ์ที่มีทั้งภาพและเสียงที่ได้รับการพัฒนาโดยโปรแกรมต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาอีก
สรุป
           จะเห็นได้ว่า E – Book ในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคแห่งการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดทักษะและการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด เพื่อสนองตอบความหลากหลายทางด้านสติปัญญา ของผู้เรียนแต่ละคน พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่บ้าน (home – based education) มากขึ้น ผู้เรียนสามารถเรียนอยู่ที่บ้าน โดยเรียนจากประสบการณ์ของนักการศึกษาที่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ โดยตรง ซึ่งนับว่าเป็นนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ใหม่ที่น่าค้นหา เพื่อผู้เรียนจะเกิดองค์ความรู้ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
แหล่งอ้างอิง
http://coe.sdsu.edu/eet
www.getdd.net/techno/62-ebookdefine.html
http://www.csjoy.com/story/net/webp.htm.
http://www.koogun.net/media/E-book/media6.htm
http://eduarea.bkk2ict.net/flip_e_book/flip_publisher1.htm
http://www.drpaitoon.com/
http://krumali.maeai.com/ebook/ebook_01.html

E - learning

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhvbBL2h_9kpRwjbHnPZYxjZ5iVSDJbJfos0KE9jtC2ebmnWaqOqs8-wO3key5H95ZvEwPvQnCwDiNxSDEiDO2KJA2IMgVj5R8nWfn0XJkvwXdoKJb5Lzvv6hg5tDLzFUP4_f9DZsGWZLvl/s1600/e-learning.jpg




วามหมายของนวัตกรรมการศึกษา
          “นวัตกรรมการศึกษา (Education Innovation)” หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่าแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เหล่านี้เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา .htm)

E-Learning (Electronic learning) คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ความหมายของ E-learning ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกันคือใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนาตลอดเวลา ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สำหรับผู้เขียนให้ความหมายของ E-learning ว่าเป็น "การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล" 

คำว่า E นั้นย่อมาจาก Electronic 
ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้ เมื่อนำมารวมกันหมายถึงการเรียนรู้โดยใช้ electronic หรือ internet เป็นสื่อ คำที่มีความหมายใกล้เคียงเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนบนเว็บ (WBI = Web-based Instruction) 

#1 อีเลินร์นิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตลอดเวลา 
#2    อีเลิร์นนิ่ง    คือ    การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 
#3  อีเลิร์นนิ่ง   คือ  การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)
คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น 
ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ(Interactive Technology) คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น DistanceLearning (การเรียนทางไกล)Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เน็ต) เป็นต้น
วามหมายของ E-learning
E-learning หมายถึง การศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้เรียนจะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเว็ปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน โดยจะมีการเรียนรู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือ ในสองลักษณะดังนี้
      1. แบบ Real-time ได้แก่ การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room 
2. แบบ Non real-time  ได้แก่ การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเล็คทรอนิคเมลล์ Web Board News-group    เป็นต้น (คุณธิดาทิตย์ จันคนา)
ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้
ระเภทของ E-learning แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

        1. Synchronous - ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในเวลาเดียวกัน เป็นการเรียนแบบเรียลไทม์ เน้นผู้เรียน เป็นศูนย์กลาง เช่นห้องเรียนที่มีอาจารย์สอนนักศึกษาอยู่แล้วแต่นำไอทีเข้ามาเสริมการสอน
        2 . Asynchronous- ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้อยู่ในเวลาเดียวกันไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ เน้นศูนย์กลางที่ผู้เรียนเป็นการเรียนด้วยตนเองผู้เรียน เรียนจากที่ใดก็ได้ที่มีอินเทอร์เน็ต โดยสามารถเข้าไป ยังโฮมเพจเพื่อเรียน ทำแบบฝึกหัดและสอบ มีห้องให้สนทนากับเพื่อร่วมชั้นมีเว็บบอร์ดและอีเมล์ให้ถาม คำถามผู้สอน แต่ละประเภทก็มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป
ข้อดี ของ Synchronous คือ ได้บรรยากาศสด ใช้กับกรณีผู้สอนมีผู้ต้องการเรียนด้วยเป็นจำนวนมาก และสามารถประเมินจำนวนผู้เรียนได้ง่าย
ข้อเสีย ของ Synchronous คือ กำหนดเวลาในการเรียนเองไม่ได้ต้องเรียนตามเวลาที่กำหนดของคน กลุ่มใหญ่
ข้อดี ของ Asynchronous คือ ผู้เรียน เรียนได้ตามใจชอบ จะเรียนจากที่ไหน เวลาใด ต้องการเรียน อะไรหรือให้ใครเรียนด้วยก็ได้ 
       ข้อเสีย ของ Asynchronous คือ ไม่ได้บรรยายสด การถามด้วย chat หรือเว็บบอร์ดอาจไม่ได้รับการตอบกลับ e-learning ในสถานศึกษา สามารถใช้ได้กับสถานศึกษา เริ่มจากที่ มหาวิทยาลัย อาจารย์ให้นักศึกษา รับการบ้าน ส่งทางอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนานำเนื้อหาไว้ที่โฮมเพจของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาเข้ามาเรียนจากการบ้านได้  



งค์ประกอบของ e-Learning
        1. ระบบจัดการการศึกษา (Management Education System) ทำหน้าที่ควบคุม และประสานงาน ให้ระบบดำเนินไปอย่างถูกต้อง องค์ประกอบนี้สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ในการวางแผน กำหนดหลักสูตร ตารางเวลา แผนด้านบุคลากร แผนงานบริการ แผนด้านงบประมาณ แผนอุปกรณ์เครือข่าย แผนประเมินผลการดำเนินงาน และทำให้แผนทั้งหมด ดำเนินไปอย่างถูกต้อง
        2. เนื้อหารายวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents) หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนคือ การเขียนคำอธิบายรายวิชา วางแผนการสอนให้เหมาะสมกับเวลา ตรงกับความต้องการของสังคม สร้างสื่อการสอนที่เหมาะสม แยกบทเรียนเป็นบท มีการมอบหมายงานเมื่อจบบทเรียน และทำสรุปเนื้อหาไว้ตอนท้ายของแต่ละบท พร้อมแนะนำแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมให้ไปศึกษาค้นคว้า
3. สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Communication)ทุกคน ในชั้นเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกันเพื่อหาข้อมูล ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือตอบข้อซักถาม สื่อที่ใช้อาจเป็น E-mail, โทรศัพท์, Chat board, WWW board หรือ ICQ เป็นต้น ผู้สอนสามารถตรวจงานของผู้เรียน พร้อมแสดงความคิดเห็นต่องานของผู้เรียนได้อย่างสม่ำเสมอ
        4. วัดผลการเรียน(Evaluation) งานที่อาจารย์มอบหมาย หรือแบบฝึกหัดท้ายบท จะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ และเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์ แก้ปัญหาในอนาคตได้ และจะต้องมีเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อวัดผลการเรียน ซึ่งเป็นการรับรองว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด   

ระโยชน์ของ E-learning
       การเรียนการสอนโดยผ่านระบบ e-learning นั้น ดิฉันคิดว่าเป็นทางเลือกทางการศึกษาอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ตนสนใจได้ อีกทั้งยังมีอิสระในการเรียนโดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องอยู่แต่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้นผู้เรียนสามารถเรียนได้ในทุกสถานที่ตามที่ตนต้องการ เพราะในยุคปัจจุบันนั้น เทคโนโลยีต่างๆมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถเข้าถึงได้ทั่วทุกมุมโลก ดังนั้นไม่ว่าเราจะตรงส่วนใดของโลก เรานั้นก็สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ ซึ่งประโยชน์ของการเรียนการสอนผ่านระบบ e-learning มีดังนี้
1.ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
       การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
2.เข้าถึงได้ง่าย
       
ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
3.ปรับปรุงให้ทันสมัยได้ง่าย
       
เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล    จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
4.ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
       ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
5.ข้อมูลไม่สูญหาย
       เนื่องจากการเรียนด้วยระบบ E-learning สามารถเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ง่ายต่อการค้นหาและการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ
6.มีอิสระในการเลือกเรียน
       การเรียนโดยผ่านระบบ E-learning นั้นเราสามารถ เลือกเรียนในสิ่งที่ตนสนใจ และยังสามารถเลือกอาจารย์ผู้สอนได้หลายท่านอีกด้วย ดังนั้นการเรียนนี้ จึงมีความอิสระต่อผู้เรียนแต่ก็มีข้อจำกัดในบางเรื่อง เช่น เรื่องของเวลา เป็นต้น





แหล่งที่มา http://www.thaiall.com/internet/internet11.htm
แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org.posts/401951.